การตรวจสอบโครงสร้างมีการตรวจสอบและทดสอบอะไรบ้าง ?

               การตรวจสอบจะมุ่งเน้นตรวจสอบสภาพโครงสร้างของอาคารว่ามีความมั่นคง แข็งแรงเพียงพอ ตามมาตรฐาน หรือไม่ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดมาตรการในการซ่อมแซมก่อนการก่อสร้างปรับปรุงต่อไป ซึ่งการตรวจสอบประกอบด้วย

 

1.การตรวจสอบสภาพภายนอกอาคาร (Geometry Survey)  เป็นการสำรวจตรวจสอบอาคารทางกายภาพ

1.1 การสำรวจมิติต่างๆ  ทางกายภาพของอาคาร

1.2 ตรวจสอบบันทึกสภาพแตกร้าวของอาคารที่มองเห็น (Visual Inspection)

1.3 ตรวจสอบสภาพการทรุดตัวของอาคาร, สภาพการเอียงของโครงสร้าง เป็นต้น

2.การสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลชั้นดิน (Soil Testing & Survey)

3.ตรวจสอบสภาพความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างอาคาร โดยตรวจสอบแบบสุ่มตัวอย่าง ดังนี้

3.1 ตรวจสอบตำแหน่งและขนาดของเหล็กเสริม Ferro  Scan / Covermeter  Test

3.2 ทดสอบคุณภาพของคอนกรีตแบบไม่ทำลาย (Non-Destructive Testing) โดยวิธีวัดขนาดแรงสะท้อนด้วยเครื่อง Schmidt Hammer (ASTM C 805)

3.3 การเจาะเก็บแท่งตัวอย่าง  Core  Sampling (ASTM C 42 And C 39)

3.4 ตรวจสอบกำลังของเหล็กเสริมด้วยวิธี Hardness  Test (ASTM E10.,ASTM E18)

3.5 ตรวจสอบความยาวและความสมบูรณ์ของตัวเสาเข็ม  โดยวิธี Side Echo Test ( ASTM D 5882-95 )

3.6 ทดสอบคุณภาพเนื้อคอนกรีต ด้วยวิธี  Carbonation Test

3.7 ทดสอบคุณภาพเนื้อคอนกรีต ด้วยวิธี  Chloride Content (ASTM C114) 

3.8 ตรวจสอบแนวโน้มการผุกร่อนของเหล็กเสริม Half Cell Potential (ASTM C876)

3.9 ทดสอบกำลังรับน้ำหนักบรรทุกของพื้น Slab Load Test (ACI 318-99)

3.10 ทดสอบกำลังของคอนกรีต ด้วยวิธี Pull Off Test (CAPO)

3.11 กำลังอัดสูงสุดของคอนกรีตโดยวิธี Ultrasonic Pulse Velocity Test (PUNDIT,ASTM-C597)

3.12 ตรวจสอบการสั่นไหวของอาคาร Ambient vibrations

3.13 ตรวจสอบค่าอุณหภูมิขององค์อาคาร

3.14 การตรวจวัดตำแหน่งลวดอัดแรง (Tendon)

3.15 ตรวจสอบความชื้นที่พื้นผิว

4.จัดทำแบบอาคาร รายงานผลพร้อมข้อเสนอแนะวิเคราะห์เสถียรภาพของโครงสร้างเชิงลึก